การแก้ปากกระจับ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การแก้ไขปากกระจับที่ทำมาแล้วไม่พอใจในผลลัพธ์เท่านั้น แต่ปัญหารูปปากเสียทรงไปจากเดิม เพราะอุบัติเหตุ หรือเคยผ่านการฉีดฟิลเลอร์จนได้รับผลข้างเคียง ก็จัดอยู่ในการแก้ปากกระจับเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งปัญหาปากต่างๆ เหล่านี้ ไม่เพียงแต่ทำให้หมดความมั่นใจ แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่กล้าส่องกระจก หรือเป็นเรื่องยากของชีวิตในการออกไปพบเจอผู้คนอีกด้วย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ปากกระจับ แบบไหนสามารถแก้ไขได้บ้าง คุณหมอมีวิธีการแก้ไขปากกระจับแต่ละปัญหาอย่างไร? เพื่อให้กลับมามีปากกระจับที่สวยและมั่นใจได้อีกครั้ง ในบทความนี้ จิรกรคลินิก จะมาบอกเล่า “แก้ปากกระจับอย่างไร ให้สวยถูกใจ และจบ” ให้ทุกคนได้รู้กันค่ะ
ทำความเข้าใจ “ปากกระจับ” ก่อนคิดจะแก้
ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนนะคะว่า ปากกระจับจะเป็นทรงปากจริง จะต้องรอการเข้าที่หลังจากทำปากกระจับเสร็จแล้วประมาณ 3-5 เดือน ซึ่งทรงปากกระจับที่เราเห็นหลังผ่าตัดเสร็จทันทีนั้น ยังไม่ใช่ทรงปากที่เราจะได้จริง ๆ เพราะหลังจากการผ่าตัดทำปากกระจับไปแล้วนั้น ร่างกายจะรู้ว่าเนื้อเยื่อบริเวณปากบางส่วนได้หายไป จึงพยายามรักษาสมดุลร่างกายด้วยการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้ปากกลับมามีทรงเดิมมากที่สุด
รวมทั้ง เนื้อปากของเราจะค่อยๆ คลายตัวลงหลังผ่าตัด ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกคน ประมาณเดือนละ 10-20% ดังนั้น ก่อนที่จะทำการผ่าตัด คุณหมอมักจะมีการประเมินและออกแบบปากกระจับเผื่อการคลายตัวของแต่ละรูปปากด้วย เพื่อให้ปากกระจับออกมาสวยและอยู่ได้นาน ดังนั้น หากใครต้องการจะแก้ปากกระจับควรรอเวลาให้ทรงปากกระจับเข้าที่ก่อน เพื่อจะได้เห็นทรงปากจริงๆ ของเราค่ะ
ปากกระจับคลายตัว เกิดจากสาเหตุอะไร ?
สำหรับสาเหตุปากกระจับคลายตัวนั้น สามารถเกิดได้จาก 3 สาเหตุดังนี้
1. ลักษณะเนื้อปาก
สำหรับเนื้อปากที่ส่งผลให้คลายตัวมากกว่าเนื้อปากอิ่ม เนื้อแน่น ได้แก่
- เนื้อปากแบบเหลว ยุ่ย การคลายตัวของเนื้อปากแบบนี้จะค่อนข้างสูงนะคะ
- เนื้อปากเป็นร่องเยอะ ไม่มีกล้ามเนื้อ โดยสังเกตตัวเองง่ายๆ ด้วยการใช้นิ้วกด ถ้าเหลวมากๆ คือ เนื้อปากไม่มีกล้ามเนื้อ ทำให้หลังจากทำปากกระจับจะคลายตัวได้ง่าย
2. อายุที่เยอะขึ้น
สำหรับคนที่เริ่มมีอายุมากขึ้น ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป หลังทำปากกระจับแล้วจะมีโอกาสที่ปากกระจับจะคลายตัวได้ง่ายกว่าคนที่มีอายุน้อย เนื่องจากคอลลาเจนใต้ผิว หนังลดน้อยลง ทำให้ริมฝีปากไม่ตึง ดังนั้น หลังจากทำไปได้สักพักปากกระจับก็จะมีการคลายและหดตัวได้
3. การดูแลหลังทำ
หลังทำปากกระจับ ควรดูแลตนเองตามที่คุณหมอแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นการทานยาตามที่คุณหมอสั่ง การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม การทำความสะอาดบริเวณริมฝีปากและช่องปาก งดอาหารหมักดอง ของสดไม่สะอาด งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นนวดริมฝีปาก โดยเมื่อดูแลตามวิธีนี้จะช่วยลดโอกาสเกิดไตที่บริเวณปาก ทำให้การดึงรั้งน้อยลง และลดโอกาสปากกระจับจะคลายตัวได้ ดังนั้น ถ้าไม่อยากพังอย่าลืมนวดปากหลังทำด้วยนะคะ
เช็คให้ชัวร์ ก่อนแก้ปากกระจับ
การแก้ปากกระจับ เป็นงานที่ละเอียดอ่อน และต้องใช้ฝีมือในการเย็บริมฝีปาก ดังนั้นการเลือกแก้ปากกระจับ ควรเลือกคุณหมอที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ รวมทั้ง สามารถตอบคำถามข้อสงสัยให้เราได้อย่างชัดนะคะ เนื่องจาก
ทั้งนี้ ก่อนการแก้ปากกระจับ เราต้องรู้ปัญหาที่อยากแก้ไข เพื่อจะได้พูดคุยกับคุณหมอและบอกความต้องการของทรงปากกระจับที่อยากได้อย่างชัดเจน เพื่อให้การแก้ปากกระจับครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่เกิดการแก้ซ้ำอีก หลังจากนั้นในขั้นตอนต่อมาก็คือ การเช็คว่าปากของเราตอนนี้เป็นยังไงบ้าง ปากปิดสนิทหรือไม่ ยิ้มปกติหรือเปล่า เห็นเหงือกชัดไหม ปากกระจับเราชัดมากหรือชัดน้อยไป เนื้อปากของเรานิ่มแล้ว หรือยังเป็นไตแข็งอยู่ ถ้าเป็นไตแข็งต้องนวดปากก่อน เพื่อลดไตและพังผืด รวมทั้ง สะดวกต่อการผ่าตัดแก้ไขด้วยค่ะ
เคยทำปากกระจับมาแล้ว ไม่สวยแก้ไขอย่างไรดี ?
การแก้ปากกระจับสำหรับคนที่เคยทำมาแล้ว แต่ผลลัพธ์ไม่สวย ไม่เป็นธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- เนื้อปากเหลือเยอะ หลังทำปากกระจับมาแล้ว และยังมีพื้นที่ให้ตัดแต่งเก็บทรงเพิ่มเติมถือว่าโชคดีมากเลยค่ะ เพราะสามารถผ่าตัดแก้ไขใหม่ได้
- เนื้อปากเหลือน้อย เนื้อปากบาง แทบไม่มีพื้นที่เหลือให้ผ่าตัดเพิ่ม หากคุณหมอวิเคราะห์แล้วเห็นว่าไม่สมควรผ่าตัดซ้ำ อาจจะได้รับคำแนะนำให้เปลี่ยนไปฉีด ฟิลเลอร์ ปากเพื่อแก้ไขรูปทรงแทนค่ะ เพราะฟิลเลอร์มีความสามารถในการเติมเต็มให้เนื้อปากอิ่มฟู มีความอวบอิ่มมากขึ้น รวมทั้ง ยังสามารถปั้นแต่งรูปทรงที่สวยงามได้เทียบเท่าการทำปากกระจับเลย แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ ไม่ได้ถาวร เพราะฟิลเลอร์จะสลายตัวออกเองหมดตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงต้องกลับมาฉีดใหม่เรื่อย ๆ เพื่อรักษาผลลัพธ์เอาไว้นั่นเองค่ะ
รูปปากเสียทรงเพราะอุบัติเหตุ แก้ปากได้อย่างไร ?
ส่วนมากปัญหาของคนที่มีรูปปากเสียทรง เพราะได้รับอุบัติเหตุมา ปากจะผิดรูป เบี้ยวเอียง ไม่เป็นทรง หรือปากไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าปากผิดรูปเยอะ เนื้อปากไม่เท่ากัน ก็ค่อนข้างที่จะผ่าตัดลำบากค่ะ อาจต้องทำการรักษามากกว่า 1 ครั้ง หรือกรณีเนื้อปากเหลือน้อย คุณหมอจะแนะนำให้ฉีดฟิลเลอร์เติมเติมร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับปัญหานั้นๆ แต่หากเนื้อปากยื่นนูนออกมาเป็นคลื่น พื้นที่ให้ตกแต่งเยอะ สามารถแก้ปากกระจับรอบ 2 ตามความเหมาะสมได้เลยค่ะ
ฉีดฟิลเลอร์มา แก้ปากแบบไหนดี ?
ส่วนใหญ่ปัญหาที่ผ่านการฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานมา จะมีปัญหาปากเบี้ยวเอียงไม่สวย หรือเกิดก้อนไตแข็ง ขรุขระ ส่วนคนที่ฉีดฟิลเลอร์แท้มา และถูกใจอยากทำปากกระจับที่คงผลลัพธ์สวย ๆ ตลอดไปก็มีค่ะ
ในการแก้ปัญหาปากกระจับหลังการฉีดฟิลเลอร์ปลอมมา การแก้ไขจะค่อนข้างยาก เนื่องจากสารเหล่านี้มักจะเข้าไปแทรกซึมบริเวณใดบริเวณหนึ่ง และไม่สามารถสลายออกเองได้ กลายเป็นก้อนแข็ง ไหลย้อย พังผืดเกาะตัวหนาแน่น คุณหมอต้องขูดสารและกำจัดพังผืดออกเสียก่อนค่ะ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลารักษาและพักฟื้นนาน
ส่วนฟิลเลอร์แท้ หากไม่ต้องการรอเวลาให้ฟิลเลอร์สลายหมด คุณหมอสามารถขูดหรือฉีดสลายฟิลเลอร์ออกก่อนแก้ทรงปากให้ได้เลยค่ะ โดยทั่วไปคุณหมอจะจัดการฟิลเลอร์และพังผืดที่มีอยู่ร่วมกับการผ่าตัดปากกระจับให้ได้รูปทรงตามความต้องการ เพียงเท่านี้เป็นอันเรียบร้อย
การแก้ปากกระจับ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความไม่พอใจหลังทำมา หรือการแก้ทรงปากจากประสบอุบัติเหตุ การฉีดสารเหลว ก่อนจะตัดสินใจแก้ไขปากกระจับควรต้องศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียด ประเมินตัวเองว่าเราเจอปัญหาอะไรควรแก้อย่างไร และที่สำคัญ ควรเลือกคลินิกที่มีคุณหมอคอยดูแล ประสบการณ์สูงและเชี่ยวชาญการทำปากกระจับ และแก้ปาก และให้คำปรึกษาปัญหาที่เราเจอ พร้อมให้ข้อมูลอย่างชัดเจน และมีภาพรีวิวปากกระจับจากคนไข้จริงๆ ให้ดูด้วยค่ะ